มีหรือไม่มีเครื่องหมายทับ

วันพุธที่ 21 เมษายน 2010

นี่เป็นคำถามที่เราได้ยินบ่อยๆ มาอ่านคำตอบกันเลย โดยปกติแล้วก่อนหน้านี้ URL ที่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายจะระบุไดเรกทอรี ส่วน URL ที่ไม่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายจะแสดงถึงไฟล์ ดังนี้

https://example.com/foo/ (with trailing slash, conventionally a directory)
https://example.com/foo (without trailing slash, conventionally a file)

แต่ก็ไม่เสมอไป Google ดำเนินการกับ URL แต่ละรายการข้างต้นแยกกัน (แต่เท่าเทียมกัน) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือไดเรกทอรี หรือมีเครื่องหมายทับปิดท้ายหรือไม่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายก็ตาม

Google อนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่แตกต่างกันใน URL ที่มีเครื่องหมายทับและ URL ที่ไม่มีเครื่องหมายทับได้ แต่นี่ไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้

จากมุมมองทางเทคนิคของเครื่องมือค้นหา มีความเป็นไปได้ที่ URL ทั้ง 2 เวอร์ชันนี้จะมีเนื้อหาแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้อาจพบว่าการกำหนดค่านี้ทำให้เกิดความสับสน ลองจินตนาการดูว่า www.google.com/webmasters และ www.google.com/webmasters/ นำเสนอประสบการณ์ 2 แบบที่ต่างกัน

ด้วยเหตุนี้ URL ที่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายและไม่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายจึงมักจะแสดงเนื้อหาเดียวกัน กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือเมื่อเว็บไซต์กำหนดค่าด้วยโครงสร้างไดเรกทอรี ดังนี้

https://example.com/parent-directory/child-directory/

การกำหนดค่าของเว็บไซต์และตัวเลือกของคุณ

คุณทำการตรวจสอบอย่างรวดเร็วบนเว็บไซต์ได้ว่า URL ทั้ง 2 รูปแบบที่ตรงกันนี้มีการเปลี่ยนเส้นทางไปยังปลายทางเดียวกันไหม ดังนี้

  1. https://example.com/foo/
    (มีเครื่องหมายทับปิดท้าย)
  2. https://example.com/foo
    (ไม่มีเครื่องหมายทับปิดท้าย)
  • หากมีเพียง URL เวอร์ชันเดียวที่แสดงผลได้ (อีกเวอร์ชันหนึ่งเปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL นั้น) ก็เยี่ยมไปเลย ลักษณะการทำงานนี้เป็นประโยชน์เนื่องจากช่วยลดเนื้อหาที่ซ้ำกัน ในกรณีเฉพาะของการเปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL ที่มีเครื่องหมายทับปิดท้าย ผลการค้นหามีแนวโน้มที่จะแสดง URL เวอร์ชันที่มีโค้ดตอบกลับ 200 (มักจะเป็น URL ที่มีเครื่องหมายทับปิดท้าย) ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนเส้นทาง 301 หรือ 302 ก็ตาม
  • หากทั้งเวอร์ชันที่มีเครื่องหมายทับและไม่มีเครื่องหมายทับปิดท้ายมีเนื้อหาเดียวกันและแต่ละรายการแสดง 200 คุณจะทำสิ่งต่อไปนี้ได้
    • พิจารณาเปลี่ยนลักษณะการทำงานนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง) เพื่อลดเนื้อหาที่ซ้ำกันและปรับปรุงประสิทธิภาพการรวบรวมข้อมูล
    • ปล่อยไว้ตามเดิม เว็บไซต์จำนวนมากมีเนื้อหาที่ซ้ำกัน กระบวนการจัดทำดัชนีมักจะจัดการกับกรณีนี้สำหรับผู้ดูแลเว็บและผู้ใช้ แม้ว่าโดยรวมแล้วจะไม่ใช่ลักษณะการทำงานที่เหมาะสมที่สุด แต่ก็เป็น URL ที่ถูกต้องตามหลักการและยอมรับได้ :)
    • โปรดวางใจว่าสำหรับ URL ระดับรากของคุณโดยเฉพาะ https://example.com จะเท่ากับ https://example.com/ และเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้ แม้ว่าคุณจะเป็นจา พนมก็ตาม

ขั้นตอนสำหรับการแสดง URL เพียงเวอร์ชันเดียว

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากเว็บไซต์แสดงเนื้อหาที่ซ้ำกันใน URL 2 รายการนี้

https://example.com/foo/
https://example.com/foo

ซึ่งหมายความว่า URL ทั้ง 2 รายการจะแสดง 200 (ไม่มีการเปลี่ยนเส้นทางหรือมีแท็กลิงก์ rel="canonical") และหากคุณต้องการเปลี่ยนสถานการณ์นี้ให้ทำดังนี้

  1. เลือก URL 1 เวอร์ชันที่ต้องการ หากเว็บไซต์มีโครงสร้างไดเรกทอรี การใช้เครื่องหมายทับปิดท้ายกับ URL ของไดเรกทอรี (เช่น example.com/directory/ แทนที่จะเป็น example.com/directory) มักจะได้รับความนิยมมากกว่า แต่คุณจะเลือกแบบไหนก็ได้ตามที่ต้องการ
  2. เลือกใช้เวอร์ชันที่ต้องการให้สอดคล้องกัน ใช้กับลิงก์ภายในของคุณ หากมีแผนผังเว็บไซต์ ให้ระบุเวอร์ชันที่ต้องการด้วย (แต่อย่าระบุ URL ซ้ำ)
  3. ใช้การเปลี่ยนเส้นทาง 301 จากเนื้อหาซ้ำไปยังเวอร์ชันที่ต้องการ หากทำไม่ได้ เราขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ใช้แท็กลิงก์ rel="canonical" rel="canonical" ทำงานคล้ายกับ 301 เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำดัชนีของ Google และเครื่องมือค้นหาหลักอื่นๆ เช่นกัน
  4. ทดสอบการกำหนดค่า 301 ผ่านโปรแกรม Googlebot จำลองในเครื่องมือของผู้ดูแลเว็บ ตรวจสอบว่า URL, https://example.com/foo/ และ https://example.com/foo ทำงานตามที่คาดไว้ เวอร์ชันที่ต้องการควรแสดงรหัสสถานะ 200 URL ซ้ำควรเปลี่ยนเส้นทาง 301 ไปยัง URL ที่ต้องการ
  5. ตรวจสอบข้อผิดพลาดที่พบเมื่อเข้ารวบรวมข้อมูลในเครื่องมือของผู้ดูแลเว็บ และหากเป็นไปได้ เว็บเซิร์ฟเวอร์ของคุณจะบันทึกเป็นการตรวจสอบอย่างรวดเร็วว่าใช้การเปลี่ยนเส้นทาง 301
  6. ผลประโยชน์ (ล้อเล่นนะ) แต่คุณไม่ต้องกังวลกับการกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพเพราะเว็บไซต์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า